เมนู

ไม่มีความเบียดเบียน. สติสัมโพชฌงค์นั้นแล ชื่อว่า วิปุละ เพราะแผ่ไป.
ซึ่งว่า มหรคต เพราะถึงความเป็นใหญ่ ชื่อว่า อัปปมาณะ เพราะมีความเจริญ
หาประมาณมิได้. ชื่อว่า อัพยาปัชฌะ เพราะเว้นความพยาบาทโดยห่างไกล
นิวรณ์ทั้งหลาย. บทว่า ตณฺหาย ปหานา กมฺมํ ปหียติ ความว่า กรรม
อันใดมีตัณหาเป็นมูลพึงเกิดขึ้น ย่อมละกรรมนั้นได้เพราะการละตัณหา. บทว่า
กมฺมสฺส ปหานา ทุกขํ ความว่า วัฏทุกข์ แม้อันใด มีกรรมเป็นมูล พึง
เกิดขึ้น เพราะละกรรมได้ จึงละวัฏทุกข์นั้นได้. ชื่อว่า สิ้นตัณหาเป็นต้น
เพราะสิ้นตัณหาเป็นต้นนั่นแหละ แต่ว่าโดยความ พึงทราบว่า นิพพาน ท่าน
กล่าว เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาเหล่านั้น.
จบอรรถกถาขยสูตรที่ 6

7. นิโรธสูตร *



ปฏิปทาเป็นไปเพื่อดับตัณหาคือโพชฌงค์ 7


[451] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มรรคาใด ปฏิปทาใด ย่อมเป็นไป
เพื่อความดับตัณหา เธอทั้งหลายจงเจริญมรรคานั้น ปฏิปทานั้น. มรรคา
และปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความดับตัณหาเป็นไฉน. คือ โพชฌงค์ 7. โพชฌงค์
7 เป็นไฉน คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์.
[452] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๊ 7 อันบุคคลเจริญแล้ว กระ
ทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อความดับตัณหา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ
* สูตรที่ 7 ไม่มีอรรถกาแก้

อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อัน
อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย โพชฌงค์ 7 อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อม
เป็นไปเพื่อความดับตัณหา
จบนิโรธสูตรที่ 7

8. นิพเพธสูตร



มรรคอันเป็นส่วนการแทงตลอดคือโพชฌงค์ 7


[453] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมรรคาอันเป็นส่วนแห่ง
การแทงตลอด แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟังมรรคานั้น ก็มรรคาอัน
เป็นส่วนแห่งการแทงตลอดเป็นไฉน. คือ โพชฌงค์ 7. โพชฌงค์ 7 เป็น
ไฉน. คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์.
[454] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอุทายีได้
ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โพชฌงค์ 7 อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำ
ให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อความแทงตลอด.
พ. ดูก่อนอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันไพบูลย์ เป็นมหรคต หา
ประมาณมิได้ ไม่มีความเบียดเบียน เธอมีจิตอันสติสัมโพชฌงค์อบรมแล้ว
ย่อมแทงตลอด ย่อมทำลายกองโลภะ ที่ยังไม่เคยแทงตลอด ยังไม่เคยทำลายเสีย
ได้ ย่อมแทงตลอด ย่อมทำลายกองโทสะ ที่ยังไม่เคยแทงตลอด ยังไม่เคยทำลาย
เสียได้ ย่อมแทงตลอด ย่อมทำลายกองโมหะ ที่ยังไม่เคยแทงตลอด ยังไม่เคย